ท่าที่ใช้ในการว่ายน้ำ
ท่าฟรีสไตล์ เป็นท่าว่ายอย่างไรก็ได้
ขอให้ต่างจากท่าผีเสื้อ ท่ากบ และท่ากรรเชียง ซึ่งส่วนมากที่ห็นกันคือ
การสาวมือว่ายสลับกันไปมาซ้ายขวา
ท่าผีเสื้อ
ท่าผีเสื้อ
เป็นท่าที่คุณต้องใช้แรงในการว่ายมากที่สุด และในการสอนว่ายน้ำก็จะสอนท่านี้เป็นท่าสุดท้าย
ท่านี้มีความเร็วเป็นอันดับสองรองจากฟรีสไตล์
แต่ถ้าคุณว่ายเก่งคุณสามารถว่ายจี้ติดคนที่ว่ายท่าฟรีสไตล์ได้เลยทีเดียว
ในการว่ายท่าผีเสื้อนี้คุณจะต้องฝึกฝนเป็นเวลานานกว่าท่าอื่น
รวมทั้งคุณต้องมีร่างกายที่แข็งแรงด้วย
ท่ากบ
เป็นท่าว่ายน้ำประเภทหนึ่ง
การว่ายท่ากบต้องอาศัยความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของช่วงล่างตั้งแต่สะโพกจนถึงข้อเท้า
อีกทั้งมีโครงสร้างร่างกายที่เหมาะสม เช่น
ข้อเท้าและข้อพับที่หัวเข่าต้องมีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงสูง ว่ายท่ากบที่ถูกต้องคือ
ห้ามยกแขนพ้นผิวน้ำ การใช้แขนดึงน้ำต้องดึงพร้อมกันทั้งสองข้าง
เทคนิคการใช้แขนต้องเหยียดแขนไปข้างหน้าให้สุด มือปะกบติดกันเสียบในระดับผิวน้ำ
หลังจากนั้นให้ปาด แขนออกโดยใช่ฝ่ามือกดน้ำในลักษณะเฉียง 45 องศา
จากผิวน้ำ เทคนิคสำคัญในการดึงน้ำจังหวะที่ 1 ข้อมือต้องกว้างกว่าข้อศอก
สองการดึงน้ำ จังหวะที่สองเป็นการล็อกข้อศอกให้อยู่กับที่
โดยให้ฝ่ามือปาดน้ำเข้าหากัน
ส่วนการใช้แขนจังหวะสุดท้ายเป็นการรวบข้อศอกเข้าหากันอย่างรวดเร็ว
พร้อมกับเหยียดแขนพุ่งไปข้างหน้า การใช้เท้า จังหวะแรกเป็นการพับเข่า
ที่สำคัญต้องไม่เป็นการชักเข่า ส่วนจังหวะที่สองเป็นการแบะฝ่าเท้าออกโดยล็อกเข่าให้อยู่กับที่
และในจังหวะสุดท้ายให้ถีบฝ่าเท้าออกพร้อมทั้งรวบฝ่าเท้าเข้าหาประกบกันอย่างรวดเร็ว
เทคนิคที่สำคัญในการใช้เท้าอยู่ที่จังหวะถีบสุดท้ายต้องมีความเร็วหรืออัตราการเร่งของการใช้เท้าเข้ามาเกี่ยวข้องกันด้วย
ตำแหน่งของลำตัว ในการว่ายท่ากบท่าปกติจะเอียงประมาณ 15 องศา
จากผิวน้ำ
ท่ากรรเชียง
เป็นท่าว่ายน้ำที่นิยมกันทั้งในการแข่งขันและในการออกกำลังกายยามว่าง
ผู้เริ่มฝึกว่ายน้ำจะมีความรู้สึกว่าตนเองเรียนรู้วิธีการว่ายท่ากรรเชียงได้ง่ายกว่าท่าวัดวา
ท่ากบหรือท่าผีเสื้อ เพราะใบหน้าไม่ต้องจมอยู่ในน้ำ
นอกจากนี้การลอยตัวหงายว่ายท่ากรรเชียงทำให้หายใจได้สะดวกกว่า ลืมตาได้ง่ายกว่า
แต่การว่ายน้ำไปข้างหลังซึ่งตามองไม่เห็น ต้องระวังไม่ให้ชนกับสิ่งอื่น
ก่อนฝึกท่ากรรเชียงต้องแน่ใจว่าสามารถลอยตัวหงายได้ดี ไม่เกร็ง
แล้วจึงเริ่มฝึกขั้นต่อไป
ขนาดสระว่ายน้ำ
กว้าง 25 เมตร ยาว 50 เมตร มีลู่สำหรับการว่ายทั้งหมด 8 ลู่
แต่ละลู่กว้างประมาณ 7-9 ฟุต
สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนว่ายน้ำ
1. ความพร้อมทางด้านร่างกาย
ควรสำรวจตัวเองว่า ร่างกายมีความพร้อม
มากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าหากคุณไม่สบาย มีไข้ หรือ มีโรคประจำตัว
ที่ไม่เหมาะกับการว่ายน้ำ ถ้าหากร่างกายไม่พร้อม แล้วลงไปว่ายน้ำ
อาจจะทำให้เกิดอันตราย ถึงชีวิตได้
2. ความพร้อมทางด้านอุปกรณ์
แน่นอนว่าการไปว่ายน้ำ
คุณต้องเตรียมชุดว่ายน้ำ เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก หมวกคลุมศีรษะ แว่นกันน้ำ และ
ถ้าหากคุณยังว่ายน้ำ ไม่แข็งแรง ก็ควรเตรียมอุปกรณ์ ที่เป็นตัวช่วย
ในการฝึกว่ายน้ำด้วย เช่น บอร์ดว่ายน้ำ ฯลฯ เป็นต้น
การเตรียมตัวไปว่ายน้ำ
ไม่ต้องเตรียมอะไรให้ยุ่งยาก เพียงแค่เตรียมร่างกาย และ อุปกรณ์ให้พร้อม
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถ ไปว่ายน้ำได้แล้ว เพื่อประโยชน์ที่ดี
ต่อสุขภาพร่างกายของคุณ
ประโยชน์จากการว่ายน้ำ
1. การว่ายน้ำช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและบริหารหัวใจ
การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ได้ผลลัพธ์คุ้มค่าอย่างไม่น่าเชื่อ
เพราะ
การออกกำลังกายในน้ำซึ่งต้องใช้แรงต้านระดับปานกลางสามารถเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้
ซึ่งการเสริมสร้างและรักษากล้ามเนื้อจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแกร่งและมีอายุยืนยาว
โดยเฉพาะเมื่อแก่ตัวลง นอกจากนี้การฝึกด้วยแรงต้านยังช่วยในเรื่องความสมดุล
ปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ รวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วย
2. การว่ายน้ำช่วยรักษาสุขภาพปอด
จากการวิจัยของบางสถาบัน
กล่าวไว้ว่านักว่ายน้ำกับความสามารถของปอดนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างยิ่ง เพราะ
เมื่อปอดแข็งแรงร่างกายก็จะสามารถรับและระบายออกซิเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ซึ่งมันส่งผลดีกับร่างกายของคุณมากๆ ระบบทางเดินหายใจจะไหลลื่นไม่หอบหรือติดขัด
และปอดที่แข็งแรงจะไม่ทำให้ร่างกายป่วยได้ง่ายๆ อีกด้วย
3. การว่ายน้ำช่วยให้ผ่อนคลาย
น้ำเป็นตัวแทนของความสดชื่นและเป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นฟูถ้าหากได้อยู่ใกล้กับน้ำ
เพราะ การวิจัยชี้ว่าอิทธิพลของน้ำนั้นมีผลต่อสมอง
ส่งผลให้สมองได้พักผ่อนเปรียบเสมือนการได้ฝึกสมาธิ
ซึ่งจะได้รับประโยชน์สูงสุดในกระบวนการรับรู้ของสมองก็คือการว่ายน้ำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายนั่นเอง
4. การว่ายน้ำทำให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น
ทะเล แม่น้ำ หรือแหล่งน้ำ(สะอาด)ที่ไหนซักแห่งบนโลกใบนี้
ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น แน่นอนว่าจะทำให้คุณสดชื่น ผ่อนคลาย
ลดความตรึงเครียดได้เ เพราะ ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ
ยิ่งถ้าได้ใช้ชีวิตหรือทำกิจกรรมทางน้ำ เช่น ดำน้ำ โต้คลื่น
ก็จะช่วยพัฒนาสภาพจิตใจและร่างกายได้เป็นอย่างดี แถมช่วยให้มีน้ำหนักตัวคงที่
และชีวิตแฮปปี้แน่นอน
5. การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำ
การว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยในการกระตุ้นหัวใจแต่ไม่ส่งผลกระทบต่อกระดูก
ข้อต่อ และกล้ามเนื้อของตัวคุณ
ซึ่งต่างจากการวิ่งหรือการออกกำลังกายที่มุ่งเน้นความแข็งแรงและความเร็ว
และการว่ายน้ำนั้นเหมาะกับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย และทุกประเภทของร่างกายจริงๆ
โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบ เป็นต้น
อันตรายของการว่ายน้ำ
การเข้าไปใช้บริการ สระว่ายน้ำ
เพื่อการว่ายน้ำ ในสถานที่สาธารณะ เช่น โรงแรม คลับเฮาส์ และ สถานที่ ฟิตเนสต่างๆ
มักมีผู้ใช้ร่วมกัน หลายคน จึงทำให้มีความเสี่ยง ที่อาจจะได้รับอันตราย
จากการว่ายน้ำได้
1. เสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง
เนื่องจากในสระว่ายน้ำ
จะมีเหงื่อ เซล์ผิวหนัง และ ปัสสาวะ จากผู้ที่ลงไปเล่นน้ำ โดยเฉพาะสระว่ายน้ำ
ที่มีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าจะเป็นแหล่ง รวมของเชื้อโรค และ จุลินทรีย์
มากมายหลายชนิด ที่อาจก่อให้เกิด ความเสี่ยงของการ เกิดโรค มะเร็ง
ในกระเพาะปัสสาวะ ได้
2.ยีนถูกทำลาย
เพราะในสระว่ายน้ำสาธารณะ
มักมีผู้เล่นเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถทราบได้ว่า ใครจะนำเชื้อโรคชนิดไหน
ลงมาสู่สระว่ายได้ จึงทำให้ผู้ดูแลสระว่ายน้ำ ต้องดูแลสระว่ายน้ำ เป็นพิเศษ
โดยการผสมสารคลอรีน เพื่อใช้สำหรับ ฆ่าเชื้อโรค เป็นจำนวนมาก
ที่อาจเป็นพิษต่อเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และ อาจมีผลต่อ การทำลาย
ของยีนส์จากร่างกายได้
3.อาการท้องร่วง
เนื่องจากในสระว่ายน้ำ โดยเฉพาะสระว่ายน้ำ
ของสถานที่สาธารณะ ที่อาจจะมีเชื้อโรค และจุลินทรีย์ อยู่จำนวนมาก หลากหลายชนิด
สำหรับผู้ที่ว่ายน้ำ ขณะว่ายน้ำอยู่นั้น มีโอกาสสูงมาก ที่จะกลืนน้ำเข้าไป
ขณะกำลังว่ายน้ำอยู่ หากกลืนน้ำเข้าไป ในปริมาณที่มาก ก็อาจทำให้
เกิดอาการท้องร่าง ได้เช่นกัน
4.ผิวหนัง ตา หูและ จมูก
ติดเชื้อ
เพราะในสระว่ายน้ำสาธารณะ
อาจจะมีเชื้อโรค และจุลินทรีย์ ที่สามารถทำให้ ผิวหนัง ตา และหู ติดเชื้อโรคได้
อาจทำให้ตาแดง หูอักเสบ จมูกอักเสบ หรือ ติดเชื้อในทางเดินหายใจ
และอาจเป็นโรคผิวหนัง ได้ และถ้าหากคุณมีแผล ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น
แผลบริเวณผิวหนัง ก็ควรหลีกเลี่ยง การลงสระว่ายน้ำ สาธารณะ
เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงจะดีกว่า
มักสังเกตุเห็นได้ว่า ตามสถานที่ให้บริการ สระว่ายน้ำ
มักจะให้ผู้ลงสระ ทำความสะอาดตัวก่อน และ หลัง ว่ายน้ำทุกครั้งเสมอ
เพื่อป้องกันเชื้อโรค และ จุลินทรีย์ ต่างๆ ฉะนั้นก่อนลง หรือ ขึ้น จากสระว่ายน้ำ
ทุกคนก็ต้องให้ความร่วมมือ ในการอาบน้ำก่อน และหลัง การว่ายน้ำทุกครั้ง
แต่ถึงอย่างไร
ก็ไม่ได้หมายความว่า จะช่วยป้องกันเชื้อโรค และ จุลินทรีย์ ได้ ร้อยเปอร์เซ็นต์
ทางที่ดี หากคุณมีทางเลือก ก็ควรหาใช้บริการ สระว่ายน้ำ ที่มีจำนวนผู้เล่นไม่มาก
และ หลีกเลี่ยงสระน้ำที่มี สารคลอรีนผสมอยู่ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการ แพ้สารคลอรีน
ก็ควรจะระวัง
อย่างลงสระที่มีสารคลอรีน ผสมอยู่ ควรเลือกว่ายน้ำ ในสระที่เป็นน้ำชนิดอื่นแทน
ที่ไม่มีสารคลอรีนอยู่ เช่น สระน้ำเกลือ แต่ทางที่จะป้องกัน การติดเชื้อโรค หรือ
จุลินทรีย์ จากสระว่ายน้ำ ได้ดีที่สุด คือ การว่ายน้ำ ในสระว่ายน้ำส่วนตัว
เพราะถ้าหากคุณ รักการว่ายน้ำ เป็นชีวิตจิตใจ หรือ ต้องว่ายน้ำทุกวัน ก็อาจจะสร้าง
สระว่ายน้ำไว้ใช้เองที่บ้าน จึงจะดีที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น